วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 20/2/13 ครั้งที่ 16

นำเสนองาน ทั้งหมด4 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 หน่วยไข่(กลุ่มดิฉัน)
กลุ่มที่ 2 หน่วย ไข่
กลุ่มที่ 3 หน่วย โรงงเรียน
กลุ่มที่ 4 หน่วยน้ำ
การนำเสนอกลุ่มดิฉัน หน่วยไข่ สรุปเป็นMap ได้ดังนี้

 
 ความรู้เพิ่มเติม
- การสอนสอนได้ความรู้ได้หลายวิชาแต่แค่จะเน้นให้รู้วิชาใดวิชาหนึ่ง
- ภาษาและคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
- สาระ/หน่วยเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัววิทยาศาสตร์
สื่อไข่ลูกเขย 




บันทึกการเรียนประจำวันที่ 13/2/13 ครั้งที่ 15

นำเสนองาน หน่วยสัตว์ อาจารย์เสนอว่า
ปัญหาที่เจอและควรเพิ่มเติม

งานที่ได้รับมอบหมาย
-การนำเสนองาน

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 6/2/13 ครั้งที่ 14

มาตรฐานคณิตศาสตร์มีสาระ6สาระ
เทคนิควิธีที่จะสอนให้เด็กเข้าใจได้ง่ายคือ เพลงและ เล่านิทาน
ปฏิบัติกิจกรรม เพลงเก็บเด็ก
 "สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง"
เพลงที่เกี่ยวกับการจัดแถว
"ยืนให้ตัวตรงก้มหัวลงตรบมือแพล๊ะ แขนขวาอยู่ทางไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ"
อาจารย์ให้นำเสนองานที่ได้รับมอบหมายกลุ่มที่1 หน่วยบ้านของฉัน
1 เด็กเรียนรู้สมาชิกในครอบครัว,การจับกลุ่ม
2 ญาติพ่อแม่ของพ่อของแม่
3 อาชีพ
4 บทบาท
5 หน้าที่
เมื่อนำเสนอเสร็จอาจารยืแนะนำกลุ่มที่สองที่นำเสนอ หน่วยผลไม้ โดยที่อาจารย์แนะนำสรุปเป็นmapได้ดังนี้
รวมภาพนำเสนองานของแต่ละกลุ่ม

งานที่ได้รับมอบหมาย
- แก้ไขงานตามที่อาจารย์ได้แนะนำกลุ่มอื่นไป
- นำเสนองาน

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 30/1/13 ครั้งที่ 13

อาจารย์ให้แสดงความคิดเห็นว่าสาขาปฐมวัยมีศักยภาพในการแสดงหรือทำอะไรได้บ้างในห้องนี้
1 บทบาทสมมติ
2 นิทานเวที
3 นิทรรศกาลสื่อ
4 เล่นดนตรี
5 ร้องเพลง
6 เล่านิทาน
7 รำ
8 งานศิลปะ
9 เต้น
10 เล่นเกม
สรุปได้ว่าการแสดงศักยภาพเหล่านี้ก็ผ่านการปฏิบัติจริงเปรียบเสมือนกับเด็ก เด็กจะมีประสบการณ์ที่ดีคือเด็กได้ลงมือกระทำจริง จึงทำให้เกิดการเรียนรู้
ได้ดังตารางดังนี้
 อาจารย์ยกตัวอย่างการสอนเรียงลำดับในแต่ละวัน
งานที่ได้รับมอบหมาย
- แบ่งกลุ่ม 5 คนทำแต่ละวัน ทำเป็นหน่วยของตัวเอง แล้วนำเสนอ

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 23/1/13 ครั้งที่ 12

อาจารย์สอนเรื่อง หน่วยการเรียนรู้ ว่าจะต้องวางหน่วยอย่างไร
ให้นักศึกษาแบ่งกลุุ่ม5คน ช่วยกันคิดหน่วยและแผนการเรียน แล้วแบ่งกันคนละวันว่าใครจะรับผิดชอบวันไหนตามหัวข้อดังนี้


จัดงานปีใหม่ของสาขาการศึกษาปฐมวัยปี2

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 16/1/13 ครั้งที่ 11

                                               เข้าร่วมกิจกรรมรำลึกพระคุณครู^^

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 9/1/13 ครั้งที่ 10

 ส่งงานอาจารย์ที่ได้รับมอบหมายให้ทำสื่อ ด้วยรูปทรงกลม

เรียนเรื่อง
-ตัวชี้วัด
-เกณฑ์
-มาตรฐาน
สรุปได้ดังนี้
งานที่ได้รับมอบหมาย
ให้สร้างหน่วยการเรียนหนึ่งเรื่อง วิเคราะห์ว่าจะสร้างหน่วยอย่างไรโดยมีหัวข้อดังนี้
- วัตถุประสงค์
-สาระสำคัญ
-ประสบการณ์สำคัญ

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 2/1/13 ครั้งที่ 9

                                              ไม่ได้เข้าเรียน กลับบ้านต่างจังหวัดคะ
หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียน เรื่องมาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย วัยเริ่มต้นการเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 ตั้งแต่ปี 2551 โดยกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย อายุ 3-5 ขวบ

สาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวน และการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว    น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์

นางเชอรี่ อยู่ดี หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวว่า คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ มีความซับซ้อนแตกต่างกัน ดังนี้

เด็กอายุ 3 ขวบ ควรมีความสามารถดังนี้
1.มีความรู้ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า เข้าใจการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2.เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา เปรียบเทียบและใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา กลางวันและกลางคืน
3.ใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสร้างสรรค์งานศิลปะเด็ก

เด็กอายุ 4 ขวบ
1.มีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ เข้าใจการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2.เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา เรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา กิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา
3.ใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่างๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4.เข้า ใจรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

เด็กอายุ 5 ขวบ
1.มีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ เข้าใจการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2.เข้าใจความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน เรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์ บอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
3.เข้าใจตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง อธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
4.เข้าใจรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน ต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

"การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงควรหลากหลาย อาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคล สถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น" นางเชอรี่กล่าว

เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่างคือให้เด็กเรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุก พร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป
 
 
ที่มา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.familyverylove.com/thread-2617-1-1.html

บันทึกการเรียนประจำวันที่26/12/12 ครั้งที่ 8

                                                               สอบกลางภาค

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 19/12/12 ครั้งที่7

   เริ่มต้นด้วยการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย เมื่อเดินไปส่งเพื่อนคนแรกวางแยกเป็นสีๆแล้วเรียงลำดับจากใหญ่สุดอยู่ล่างและเรียงขึ้นไปหาเล็ก เมื่อถามอาจารย์ว่าต้องเรียงอย่างนี้หรือคะอาจารย์ อาจารย์บอกว่าแล้วแต่เราจะวาง ดิฉันคิดว่าถ้าเราวางตามเพื่อนก็ดูสวยดีและเป็นระเบียบ ดิฉันจึงวางตามเพื่อนและเพื่อนคนอื่นๆก็วางเหมือนกัน อาจารย์เลยบอกว่า การส่งงานครูมีวิธีการที่หลากหลาย โยงความหมายไปหาเด็กได้โดยที่ว่า เด็กเมื่อเห็นแบบอย่างแล้วเด็กมักจะทำตาม การเป็นผู้นำ ผู้ตาม การเป็นครูต้องบูรณาการหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน
   มาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เมื่อพูดมาตรฐานนึกถึงอะไร? คุณภาพ,ตัวชี้วัด,การสอบ,มหาวิทยาลัย,สินค้า ฯลฯ
สรุปได้ดังนี้

 งานที่ได้รับมอบหมาย
 - ทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ที่เกี่ยวกับรูปทรงกลม 3 คนต่อหนึ่งชิ้น
 - มีรูปและสีที่ขนาดแตกต่างกัน
 - กระดาษแข็งตัดเท่ากระดาษA4
 - พับได้ใส่กล่อง

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 12/12/12 ครั้งที่ 6

เรียนเรื่อง ความหมาย และ ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
 การเปิดโอกาสให้เด้กได้ซึมซับเเละเกิดความรู้ใหม่ มีประสบการณ์ตรงอย่างอิสระ(การเล่น)
กิจกรรม
 - ให้นำกล่องต่างๆที่อาจารย์นำมาให้เลือกคนละกล่องจับคู่กันแล้วคิดว่าจะสามารถสอนคณิตศาสตร์เด้กอย่างไร
 - รวมกัน10คนประกอบเป็นอะไรก็ได้
 - รวามกันทั้งห้องจัดเป็นนิทรรศการ
สรุปได้ดังนี้

งานที่ได้รับมอบหมาย
 - ให้แต่ละคนตัดกล่องเป็นรุปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว 1นิ้วครึ่ง และ 2 นิ้ว อย่างละ3สี สีเขียว สีเหลือง สีชมพู ติดด้านที่เป็นสีเพียงด้านเดียว

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 5/12/12 ครั้งที่ 5

                                      ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันพ่อ